วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Chapter 7. PRODUCT #BUS702 : To present Dr.Vichit U-on. # Phummarin Rungratsameepat#DBA09#SPU

ผลิตภัณฑ์ (PRODUCT) 
ความสำคัญของผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้า และบริการของกิจการใดๆ เป็นที่มาของรายได้ให้กับกิจการนั้นๆจึงอาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจกิจการจะไม่สามารถอยู่รอดได้ ถ้าผลิตภัณฑ์ที่ขาย นำเสนอสู่ตลาดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นก่อนสำเสนอผลิตภัณฑ์สู่ตลาดธุรกิจ กิจการควรที่จะได้สำรวจให้ทราบถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ ที่ผู้บริโภคต้องการให้ได้เสียก่อน
ระดับหรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (Levels of product / product component)
     ผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ หรือ 5 องค์ประกอบด้วยกัน คือ
 1. Core Product (ผลิตภัณฑ์หลัก)
       คือ ประโยชน์พื้นฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการซื้อสินค้านั้นโดยตรง
 2.  Tangible or Formal Product (รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์)
      คือ ลักษณะทางกายภาพที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้ ประกอบด้วย
          2.1 ระดับของคุณภาพ (Quality level)
          2.2 รูปร่างลักษณะ (Features)
          2.3 การออกแบบ (Design)
          2.4 บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
          2.5 ชื่อตราสินค้า (Brand name)
 3.  Expected Product (ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง)
      คือ คุณสมบัติหรือเงื่อนไขที่ผู้ซื้อคาดหวังว่าจะได้รับจากการซื้อสินค้า หรือเป็นข้อตกลงในการซื้อสินค้า
 4.  Augmented Product (ผลิตภัณฑ์ควบ)
       คือ ผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่ไปกับการซื้อสินค้านั้นๆ ตัวอย่างเช่น
          4.1 การให้บริการติดตั้ง (Installation)
          4.2 การขนส่ง (Transportation)
          4.3 การรับประกัน (Insurance)
          4.4 การให้สินเชื่อ (Credit)
 5. Potential Product (ศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์)
       คือ ส่วนของผลิตภัณฑ์ควบที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไป เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคต
ประเภทของผลิตภัณฑ์
1. สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) มายถึง สินค้าหรือบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ความต้องการในการบริโภคสินค้าประเภทนี้ มักเกิดขึ้นอย่างอิสระจากความต้องการและความคิดส่วนตัว
2. สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods) หมายถึง สินค้าในตลาดอุตสาหกรรมผู้ซื้อจะซื้อไปเพื่อเป็นปัจจัยในการผลิต เพื่อการขายต่อ ผู้ซื้อสินค้าประเภทนี้เรียกว่าผู้ซื้อทางอุตสาหกรรม
ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการติดฉลาก

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life Cycle – PLC)
               หมายถึง ขั้นตอนที่แสดความสัมพันธ์ระหวาปริมาณขายสินค้ากบระยะเวลาตั้งแต่เริมต้นนำสินค้าชนิดหนึ่งซึ่งออกจำหน่าย จนกระทั่งนำสินค้าออกจากตลาด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นแนะนำสู่ตลาด (Introduction Stage) เป็นขั้นที่ธุรกิจนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด ปริมาณขายต่ำมากเนื่องจากผู้ซื้อยังไม่รู้จักสินค้า ทำให้ธุรกิจมักขาดทุนเนื่องจากการจัดจำหน่ายอยู่ในขอบเขตที่จำกัด
2. ขั้นการเจริญเติบโต (Growth Stage) เป็นขั้นที่ปริมาณขายและกำไรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้ซื้อเริ่มใช้และเคยใช้สินค้าแล้ว ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น
3. ขั้นการเจริญเติบโตเต็มที่ (Maturity Stage) เป็นขั้นที่ปริมาณขายของธุรกิจเพิ่มขึ้นเข้าสู่จุดสูงสุดและมีอัตราที่ลดลง การแข่งขันของคู่แข่งที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ต้นทุนการผลิตและต้นทุนการส่งเสริมการตลาดสูงขึ้น
4. ขั้นตกต่ำหรือขั้นถดถอย (Decline Stage) เป็นขั้นที่ปริมาณขายและกำไรลดลงอย่างมาก ธุรกิจต้องตัดสินใจว่าจะอยู่ในตลาดหรือถอนตัวออกจากตลาด การโฆษณาและการส่งเสริมการขายลดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Review : บทที่ 1 Marketing Theory To present Dr.Vichit U-on. #ภูมรินทร์ รุ่งรัศมีพัฒน์#DBA09#SPU โดย วงศ์วริศ อัครเศรษฐการ

Review : บทที่ 1 Marketing Theory To present Dr.Vichit U-on. #ภูมรินทร์ รุ่งรัศมีพัฒน์#DBA09#SPU โดย วงศ์วริศ อัครเศรษฐการ บทที่ 1 Market...