วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Chapter 3. Marketing Management #BUS702 : To present Dr.Vichit U-on. # Phummarin Rungratsameepat#DBA09#SPU

การจัการการตลาด (Marketing Management)
การวิเคราะห์สถานการณ์
ขั้นตอนการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์
1. การวิเคราะห์ภาพรวมของบริษัท
2. การวิเคราะห์ลูกค้าเดิม
3. การวิเคราะห์คู่แข่งขัน
4. การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด
5. การวิจัยตลาด
6. การกำหนดแนวทางการตลาด
7. การกำหนดนโยบายทางการตลาด
8. การสร้างทางเลือกและการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด
9. การกำหนดยุทธวิธีทางการตลาด
10. การกำหนดงบประมาณทางการตลาด
กลยุทธ์การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
- เป็นการกำหนดกลยุทธ์ในระดับบริษัท
- จะถูกกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
- กลยุทธ์ในระดับองค์กรจะมีขอบเขตครอบคลุมระยะเวลายาวและทั่วถึงทั้งองค์กร
กลยุทธ์การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
-กลยุทธ์การเจริญเติบโตแบบคงที่
-กลยุทธ์การเจริญเติบโต
-กลยุทธ์ตกต่ำ
-กลยุทธ์ถดถอย
กลยุทธ์ได้เปรียบทางการแข่งขัน
-เป็นกลยุทธ์ในระดับธุรกิจ
-กลยุทธ์นี้มักจะถูกกำหนด โดย ผู้บริหารหน่วยธุรกิจ เพื่อให้หน่วยธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-เป็นผู้นำทางด้านต้นทุน เพื่อต้องการที่จะได้เปรียบการแข่งขัน โดยเน้นการเปรียบเทียบต้นทุนทางการตลาด รวมถึงการส่งมอบสินค้าและบริการของบริษัท ที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
-กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง เป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจจะต้องสร้างความแตกต่างของกิจกรรมทางการตลาดของบริษัทให้มี ความแตกต่างออกไปจากสินค้าและบริการของคู่แข่งขัน
-กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตที่น่าสนใจ เมื่อองค์การมีการนำกลยุทธ์นี้มาใช้ จะแสดงให้เห็นว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทจะแคบกว่า การดำเนินธุรกิจของคู่แข่งขันดังนั้น บริษัทจึงกระทำการวิเคราะห์ปัจจัยเสริมอื่นๆ เข้ามาเพื่อที่จะสามารถดำเนินกิจกรรม สามารถดำเนินกิจกรรมทางการตลาดได้คิดว่าคู่แข่งขันนั้นคือเน้นที่ความต้องการของลูกค้านั่นเอง
กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด
-กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์
-กลยุทธ์ราคา
-กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า
-กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด
การจัดการการตลาด (Marketing Management) หมายถึง กระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ การวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุม กิจกรรมต่างๆที่ทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
Organizational Marketing Planning Process (OMPP)
-เริ่มจากการวิเคราะห์องค์ประกอบในองค์กร เช่น เป้าหมาย วัตถุประสงค์ระยะสั้นและยาวขององค์กร วัฒนธรรมองค์กร SWOT
-วิเคราะห์องค์ประกอบนอกองค์กร
-กำหนดกลยุทธ์ที่จะเป็นทิศทางในการปฏิบัติงาน
-วางแผนระบบ
-การตรวจสอบผลการปฏิบัติเพื่อการปรับปรุง
การกำหนดเป้าหมายทางการตลาด
             อาจมีมากกว่า 1 เป้าหมาย มุ่งสร้างความพอใจให้ลูกค้า ต้องอยู่ในสภาพที่ธุรกิจสามารถดำเนินการได้
การวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กร
-องค์กรภาครัฐและองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรส่วนใหญ่นั้นถูกกำหนดวัฒนธรรมโดยผู้นำองค์กร (Kotler and Armstrong 2003) ทำให้ไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการตลาดต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
-ความไม่แน่ใจในทิศทางการดำเนินการขององค์กรแนวคิดของ Kotler  ในการปรับวัฒนธรรมองค์กร
-ผู้นำองค์กรต้องเข้าใจแนวคิดและเป้าประสงค์ที่กำหนดและยอมรับการเปลี่ยนแปลง
-กำหนดระยะเวลาที่ต้องใช้ในช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่าน
-ในการวิเคราะห์องค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมมีการสูญเสียและความขัดแย้งเสมอ
-สร้างข้อตกลงเบื้องต้นร่วมกันในองค์กรในขั้นตอนแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Review : บทที่ 1 Marketing Theory To present Dr.Vichit U-on. #ภูมรินทร์ รุ่งรัศมีพัฒน์#DBA09#SPU โดย วงศ์วริศ อัครเศรษฐการ

Review : บทที่ 1 Marketing Theory To present Dr.Vichit U-on. #ภูมรินทร์ รุ่งรัศมีพัฒน์#DBA09#SPU โดย วงศ์วริศ อัครเศรษฐการ บทที่ 1 Market...