บทที่ 6 ADVERTISING จากหนังสือ เรื่อง Marketing Model
โดย ฟิลิป คอตเลอร์และคณะ
คำนิยามและความหมายของ ADVERTISING
โดยสรุปจากการทบทวนวรรณกรรมที่ได้ศึกษาค้นคว้าในกระบวนวิชา SPU
702 ทฤษฏีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธืขั้นสูงและแนวคิดเชิงปฏิบัติ
ของหลักสูตร DBA มหาวิทยาลัยศรีปทุม
พบว่า
เอกสารที่ศึกษาทุกเรื่องได้ให้นิยามและความหมายของคำว่า
การโฆษณา
หรือ ADVERTISING ไว้ตรงกันว่าหมายถึง
กระบวนการสื่อสารที่ต้องการจะให้ผู้บริโภคหรือลูกค้า
เกิดความสนใจในสินค้าและบริการ
โดยเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการนั้นๆ
โดยการใช้สื่อประเภทต่างๆ
เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคให้มากที่สุด
และมีเป้าหมาย
ในการที่จะทำให้ผู้ผลิตสินค้าหรือบริการ
เกิดผลกำไรในการประกอบธุรกิจ
และผู้บริโภค
ลูกค้า
ผู้ใช้บริการ
เกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการนั้นๆ
ทั้งนี้ เมื่อได้ศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ
การโฆษณาที่พบ จำนวน 5 บทความซึ่งมีการเผยแพร่และตีพิมพ์แล้ว
ในรอบปี ค.ศ. 2010-2017 แล้วพบว่า มีจำนวน 5 เรื่องที่มีความน่าสนใจ ซึ่งสามารถที่จะสรุปได้เป็น
รูปแบบจำลองข้างต้น
โดยรูปแบบดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้โดยสรุปดังนี้
ในการวางแผนการโฆษณา ต้องคำนึงถึงตัวแปรสำคัญสองตัวคือ
สินค้าหรือบริการ และผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้า โดยในกลุ่มของสินค้าและบริการจะใช้ช่องทางทางด้านการสื่อสาร (
ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ) ที่ประกอบด้วย S M C Rในการติดต่อและประเมินผล
ส่วนในกลุ่มของลูกค้าหรือผู้บริโภค มีองค์ประกอบสำคัญที่จะส่งผลต่อการวางแผนโฆษณาคือ
เครื่องมือที่ใช้ในการรับสาร(
ซึ่งในที่นี้ หมายรวมถึงสื่อสาธารณะ และสื่อบุคคล เช่น
โทรศัพท์มือถือ แอบปลิเคชั่นต่างๆ ทั้งline facebook
twitter และอื่นๆ ) และพฤติกรรมของลูกค้าและผู้บริโภค
สำหรับในการวางแผนโฆษณา สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการศึกษาคุณลักษณะของสินค้าและบริการ
รวมถึงผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้า
ซึ่งตัวแปรทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และเมื่อศึกษาโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้การวิเคราะห์แบบSWOT เพื่อหาโอกาสและช่องทางในการเผยแพร่ และต้องเป็นช่องทางที่สามารถนำข้อดีของสินค้าและบริการสู่
ผู้บริโภคได้อย่างสะดวก จนได้ข้อสรุปแล้ว จะนำไปสู่การวางแผนในเรื่องของการใช้สื่อประเภทต่างๆ
ตั้งแต่สื่อประเภท Print Media Electronic Media และ Social Media เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า
ขณะเดียวกันในการวางแผนโฆษณานี้ จะมีตัวแปรภายนอกที่สามารถควบคุมได้อีก 2 ชนิดคือ ความรับผิดชอบต่อสังคม และลักษณะทางกายภาพ
ของสถานที่ ลักษณะประชากร เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ
ที่ผู้วางแผนในการโฆษณาต้องคำนึงถึงประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม
ในยุคปัจจุบัน เมื่อผู้ทำโฆษณา
ได้วางแผนการใช้สื่อ เรียบร้อยแล้ว อาจใช้กระบวนการด้าน Social
Media ในการทดสอบตลาด โดยการปล่อยโฆษณา ผ่านแอปปลิเคชั่นต่างๆ
ไปถึงผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้า ได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้
กลุ่มลูกค้า มีปฏิกริยา ( Feedback )
กลับมาถึงนักโฆษณาด้วยความรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อนักโฆษณาในการที่จะวางแผนกลยุทธ์ให้ถูกต้องและตรงกับความต้องการ
ของทั้งกลุ่มผู้ผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภค
และการวางแผนการโฆษณาที่ประสบความสำเร็จ จะต้องทำให้สินค้าหรือบริการนั้นๆมีช่องทางการจำหน่ายในตลาดเพิ่มมากขึ้น
นำมาซึ่งผลกำไรให้กับสินค้าและบริการนั้นๆ ขณะเดียวกัน ก็ต้องทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ
เกิดความพึงพอใจในสินค้าหรือบริการนั้นๆด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการจดจำ และกลับมาใช้บริการในสินค้าหรือบริการนั้นๆ
อย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนเกิดเป็นความภักดี
กับสินค้าหรือบริการนั้นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น